เพิ่งอ่านหนังสือเล่มนี้จบมาหมาด
Bartleby, the Scrivener: A Story of Wall-Street By Herman Melville
พัจนภา เปี่ยมศิลปกุลชร แปล ปราบดา หยุ่น บทกล่าวตาม
อยากจะเอามาเล่าให้ฟัง
เป็นหนังสือชุด วรรณกรรมในวงเล็บ 01 (02 คือเรื่องของ Samuel Beckett เรื่องที่เราเอาปกหลังของหนังสือเล่มนี้มาเป็น หัวข้อแรกของ blog นี้ไง แต่ยังอ่านไม่จบอันนั้น มีความมึนนิดหน่อย)
ต่อๆ ก็อ่านเล่มนี้จบก่อนเพราะอินไปก่ะเรื่องด้วยมั้ง
ประโยคทีเด็ดสำหรับเราคือ
"การทำสิ่งนั้นมันเป็นการกักขังเกินไป ไม่ครับ ผมไม่ต้องการเป็นเสมียน แต่ผมก็ไม่ได้เจาะจงอะไร"
อยากรู้มากกว่านั้นให้ลองเข้าไปอ่านย่อๆในเว็บลิ๊งค์นี้
http://www.faylicity.com/book/book1/scrive.html
สำหรับเรา
เราก็ไม่รู้ว่า การที่ตอนจบของ Bartleby มันเป็นแบบนั้น มันสมควรหรือไม่สมควร
แต่พอมองกลับมาที่ปัจจุบัน ที่ตัวเองแล้ว
การที่เราต้องทำงานอะไรอย่างเดียว มัน ใช่,สมควร,จริง (ไม่รู้จะใช้คำไหนดี) แล้วเหรอ
กับการที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ที่สามารถเรียนรู้อะไรได้หลายอย่าง
หรือแบบที่เค้าบอกว่า การที่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก มันก็เหมือนกับการไม่ได้ใช้คำว่าทำงาน
แต่ก็มีไม่กี่คนที่จะหา งานที่ตัวเองรัก ที่อยากทำได้จริงๆ
เหมือนกับตอนนี้ ที่เราต้องทำงาน ต้องถูกกักขัง ด้วยความรู้ที่เราเรียนมา
มันก็ตอบยากเหมือนกันนะ ว่างานแบบไหนที่เราชอบและอยากทำโดยที่มีความเบื่อน้อยที่สุด
งานถึงแม้จะต้องบ่นซักแค่ไหน ต้องวุ่นวายกับมันแค่ไหน
เราก็ยังรักที่จะทำมันอยู่ดี
สำหรับเรา ขอให้ได้ทำงาน อะไรก้ได้ที่มันยังได้คิด ได้ออกแบบ
ได้มีความรู้ใหม่ๆ แต่ถามว่าอยากเป็น interior designer มั๊ยก็ตอบไม่ได้ว่ะ
เพราะ "การทำสิ่งนั้นมันเป็นการกักขังเกินไป ไม่ครับ ผมไม่ต้องการเป็นเสมียน แต่ผมก็ไม่ได้เจาะจงอะไร"
...................................................
สุนทรียศาตร์ยุคคลาสสิก :: ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
16 years ago
3 comments:
กดลิงค์ไม่ได้หว่ะ
แต่ฟังดูน่าสนใจดีนะ
moment แบบนี้มันมีกันได้ตลอดเวลาอะ
เราว่านะ
---kamenoi---
กดได้นะ
เพียงแต่ว่า นัทต้อง กดเปลี่ยนให้มันเป็นภาษาไทยน่ะ
ลองดูๆ
^^
ชอบคำว่า anti hero ใน link ที่กดนะ
มันเหมือนกับ philosophy ของพวก punk เลย
กลับมา
อย่างแรก ทำไมเราไม่เลือกเรียนอย่างที่ชอบจริงๆ
จะได้ไม่ต้องทรมานกับการที่เราจบมา แล้วต่้องมา
ทำสิ่งที่เรียนมา
คำตอบ คือ มีซักกี่คนว่ะ ที่สามารถบอกตัวเองได้
ว่าตัวเองชอบอะไรในตอนนั้น ให้ถามคนแก่อายุ 80
หลายคนคงยังไม่สามารถบอกได้ แล้วประสาอะไรกับเด็ก
อายุไม่ถึง 20
สอง ทำไมเราไม่สามารถทำอะไรหลายๆอย่าง
ตามความสามารถของมนุษย์ได้
เพราะ เราไม่มีอำนาจขนาดนั้น กูว่านะ
อาจจะใช้ได้หลายแขนง แต่ทำได้อย่างเดียวแหละ
อยางพวกเรากูถือว่าโชคดีนะ ที่มันได้รวมเอาหลายอย่าง
มาที่ตัวงาน multi disciplinary ซึ่ง เป็นงานที่ไม่สามารถ
ใช้แต่ตัวความรู้ของเราเท่านั้น ที่ทำให้สำเร็จ
กูว่า อย่างอื่นก็คงมีอีกแหละ
อยู่ที่ว่า คนนั้นจะสามารถรับรู้ข้อเท็จจริงนี้ได้หรือไม่
บางครั้งมันซ่อนตัวจนเป็นสูตรสำเร็จไป โดยที่เราไม่รู้ว่า
ขบวนการที่จะออกมา มันมีมากกว่านั้นเยอะเลย
แต่หลักๆที่จะบอกคือ
งานทุกงาน กูว่าเราได้เรียนรู้หมดแหละ
แต่จุดอิ่มตัวของแต่ละอย่าง มันไม่เท่ากัน
แต่ละคนก็ไม่เท่ากันอีก ช้าเร็ว
ดังนั้น บางคน ทำที่นี่นานบ้าง เร็วบ้าง
แล้วแต่กันไป กูคิดว่างั้นนะ
Post a Comment